เจลาตินชนิดทานได้

 

เจลาตินรับประทานได้

พูดถึงเรื่องเจลาตินรับประทานได้ หลายคนอาจจะเพิ่งรู้ว่ามีประเภทเจลาตินรับประทานได้และประเภทที่ทานไม่ได้ ซึ่งในแต่ละประเภทก็แบ่งย่อยออกได้เป็นหลายชนิดและคุณภาพ ซึ่งมีคุณสมบัติที่แตกต่างกันเหมาะสมแก่การใช้งานในจุดประสงค์ที่ต่างกัน สำหรับเจลาตินที่รับประทานได้นั้นมีความพิเศษและมีลักษณะเฉพาะอย่างไรบ้าง

ลักษณะและคุณสมบัติทั่วไปของเจลาตินรับประทานได้?

อย่างที่เคยกล่าวไว้ในบทความก่อนหน้าว่าเจลาตินมีค่าวัดคุณภาพเป็นหน่วยของความบาน “bloom” และโดยทั่วไปลักษณะเจลาตินรับประทานได้จะมีค่าความบานประมาณ 80 ถึง 250 bloom และจะมีลักษณะความหนืด (viscosity) 20-40 mps และมีขนาดของอนุภาค(Particle Size) 10-60 mesh ซึ่งความแตกต่างเหล่านี้จะถูกนำไปใช้ประโยชน์ตามความต้องการของผู้ผลิตและผู้บริโภค เช่น เจลาตินที่มีค่าความบาน 100 bloom และมีค่าความหนืดที่ 25 mps มักจะถูกใช้เป็นส่วนผสมของหมากฝรั่งและไอศกรีม ในขณะที่เจลาตินที่มีค่าความบานที่ 250 และความหนืดที่ 40 mps ถูกนำไปใช้ผสมเยลลีและมาร์ชเมลโลว์ หรือขนมที่ต้องการความเหนียวนุ่มและยืดหยุ่นสูง

ในขณะที่เจลาตินชนิดพิเศษอย่างเจลาตินด้านเภสัชกรรม (Pharmaceutical gelatin) ซึ่งเป็นเจลาตินรับประทานได้อีกประเภทหนึ่ง อาจจะมีค่าที่สูงกว่า 250 bloom และมีค่าความหนืดสูงถึง 45-48 mps พบเจลาตินชนิดนี้ได้ในแคปซูลยาต่างๆ

คุณค่าและประโยชน์ของเจลาตินรับประทานได้ fgdk

เจลาตินรับประทานได้เกรดต่างๆ มักถูกใช้ในผลิตภัณฑ์อาหารหรือที่เกี่ยวข้อง ตัวอย่างทั่วไปของอาหารที่มีเจลาตินทานได้เป็นส่วนผสม ได้แก่ วุ้น มาร์ชเมลโลว์ ลูกอมประเภทเคี้ยวหนึบ เช่น กัมมี่แบร์และเยลลี่ นอกจากนี้เจลาตินรับประทานได้อาจใช้เป็นสารเพิ่มความคงตัว สารเพิ่มความข้น หรือสารสร้างเนื้อสัมผัสในอาหาร เช่น โยเกิร์ต ครีมชีส และมาการีน และใช้สำหรับเพิ่มความใสในน้ำผลไม้ เช่น น้ำแอปเปิ้ล และน้ำส้มสายชู หรือบางครั้งใช้เป็นสารปรับสภาพสำหรับไวน์และเบียร์ 

เจลาตินมีกระบวนการผลิตจากวัตถุดิบจากสัตว์จึงไม่ถือว่าเป็นสารเคมี อีกทั้งยังให้คุณค่าและประโยชน์ทางโภชนาการแก่ผู้บริโภคอีกด้วย เพียงแต่ต้องระวังในการใช้เจลาตินบางเกรดที่นอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้นที่อาจไม่เหมาะต่อการผสมอาหาร เพราะมีเนื้อสัมผัส ค่าความหนืดที่เกินมาตรฐานสำหรับบริโภค

ผู้ผลิตเจลาตินรับประทานได้

หากผู้บริโภคต้องการนำเจลาตินรับประทานได้ไปใช้ประโยชน์ต่อยอดในการผลิตภัณฑ์หรืออาหารต่างๆ ควรมองหาเจลาตินรับประทานได้จากผู้ผลิตที่ได้รับการรับรองคุณภาพ ซึ่งผู้ผลิตเจลาตินเองต้องให้ความสำคัญต่อคุณภาพของวัตถุดิบ รวมถึงขั้นตอนการผลิตที่มาตรฐาน มีความสะอาด ถูกสุขอนามัย ไร้การเจือปนของสารเคมี และบานาเจลคือผู้ผลิตเจลาตินรับประทานได้ที่ได้รับการรับรองโดยหน่วยงานสากลด้านคุณภาพและความสะอาด ปลอดภัยต่อผู้บริโภค